วิธีปลูกต้นสละสุมาลี

การคัดเลือกต้นพันธุ์สละสุมาลี
 ต้องใช้ต้นพันธุ์ ที่ขยายพันธุ์ด้วยการแยกผ่า จากต้นแม่พันธุ์ ของสละสุมาลี ถือเป็นการขยายพันธุ์ที่ดีที่สุดไม่มีการกลายสายพันธุ์ สละสุมาลีเป็นพืชแยกเพศ ในการปลูกต้นสละสุมาลีจึงจำเป็นต้องมีทั้งต้นเพศเมียและเพศผู้ (ต้นเพศผู้มีหน้าที่ออกดอกอย่างเดียวเพื่อใช้เกสรในการผสมพันธุ์)  เพื่อใช้ต้องใช้ช่วยในการผสมพันธุ์ให้ได้ผลผลิตที่สมบรูณ์ และปริมานผลผลิตที่ดี
อายุต้นพันธุ์ 3 เดือน ขึ้นไป เหมาะแก่การเพาะปลูก
อัตราส่วนของการปลูกสละสุมาลี เพศผู้เพศเมีย โดยประมาน
สละต้นตัวเมีย 100 ต้น ต่อสละต้นตัวผู้ 15-20 ต้น 
หรืออาจปลูกได้มากกว่านี้ตามต้องการ เพราะ ในตลาดปัจจุบัน เกสรของต้นสละตัวผู้ มีราคาขายที่เกสรสด ราคา 150-250 บาท /ต่อ 1 กิโลกรัม  )
วิธีการปลูกสละสุมาลี
แปลงปลูกต้นสละไม่ควรมีน้ำท่วมขัง และสภาพดินไม่ควรแห้งแล้ง 
-พื้นที่ดอน
สามารถปลูกสละร่วมกับไม้ยืนต้นเหล่านั้นได้เลยโดยอาศัยไม้ยืนต้นที่ปลูกไว้แล้วเป็นร่มเงาพรางแสง พื้นที่ดอนที่ไม่มีไม้ยืนต้น
ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และขุดร่องระบายน้ำหากมีปัญหาน้ำท่วมขัง
ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็วเพื่อเตรียมไว้เป็นร่มเงาของสละในที่ดอน ควรมีระบบน้ำที่สามารถให้เพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต
 -พื้นที่ลุ่ม
ที่อาจ เสี่ยงต่อน้ำท่วมขัง ให้เกษตรกร ขุดแนวร่องระบายน้ำในแปลงออกสู่ที่ต่ำของแปลง โดยทำการขุดร่องล้อมรอบทั้งสี่ด้านการเตรียมแปลงเริ่มด้วยการปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ สำหรับพื้นที่ลุ่มควรปรับให้มีความลาดเอียงเล็กน้อยในด้านใดด้านหนึ่ง ทำการเตรียมไถพรวนดิน ขุดยกร่องสวนให้มีขนาดสันร่องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตรลึก 1 เมตร
มีระบบระบายน้ำเข้าออกเป็นอย่างดีตากดินนาน 7-14 วัน กำจัดวัชพืช หลังจากนั้น หว่านปุ๋ยคอกอัตรา 3-5 ตัน/ไร่ พร้อมไถพรวนดินให้ร่วนซุยออกอีกครั้ง  ปลูกไม้ยืนต้นหรือไม้โตเร็วเป็นไม้ร่มเงาริมขอบแปลงทั้ง 2 ด้านเพื่อช่วยยึดป้องกันการพังทลายของแปลงปลูกด้วย
 -ขุดหลุมโดยใช้มูลขี้วัวโรยก้นหลุมบางๆ ควรรดน้ำทันทีหลังปลูกเสร็จ  ใช้ตาข่ายสแลนบังแดดในระยะเริ่มต้นจนกว่าจะแข็งแรง  ขอแนะนำ ให้ปักหลักไม้สูงเหนือต้นกล้าเพื่อเป็นเสาทำร่มให้ต้นสละ 4 จุด รอบต้น ห่างจากต้นพอประมาณ  นำผ้าตาข่าย (แสลนกรองแสงบังแดด) พันรอบหลักที่ปักไว้เพื่อบังแสง 
- การให้น้ำ ให้น้ำทุก 3 เวลา หลังปลูกใหม่ 
การให้ปุ๋ย 
บำรุงด้วยปุ๋ยชีวภาพ ใช้มูลขี้วัวปุ๋ยคอกเท่านั้น โดยโรยโคนต้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง  หรือใช้น้ำหมักชีวภาพร่วมด้วยโดยฉีดพ่นตั้งแต่ใบจนถึงดินเพื่อให้ชุ่มชื้น

ใส่ปุ๋ยเคมี  สูตร 15-15-15  อัตรา 1-3 กิโลกรัม/กอ/ปี ในระยะ 1 ปี แรก อัตรา 3-5 กิโลกรัม/กอ/ปี ในระยะ 2 ปี ขึ้นไป โดยใส่ 2-4 ครั้ง/ปี
- พื้นที่ของการปลูก ระยะห่างของการปลูกสละสุมาลีแต่ละต้น ควรอยู่ที่เริ่ม 4x4  เมตร ระยะความห่างในแต่ละต้นอาจมากกว่านี้ได้ในกรณีมีพื้นที่จำนวนมาก เพื่อสะดวกและง่ายต่อการดูแลรักษา และที่สำคัญคือจะทำให้เจริญเติบโตได้ดีเต็มที่ ได้ผลผลิตลูกผลสละที่โตขึ้นและมีผลผลิตมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในเรื่องภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และการดูแลรักษาร่วมด้วย

การให้อาหาร/การดูแลรักษา
การให้น้ำ สละเป็นพืชที่ชอบความชื้น ชอบน้ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้น้ำชื้นและมากจนเกินความจำเป็น ในช่วงหน้าแล้ง สภาพดินจะมีแห้งมาก ดินขาดความชุ่มชื้น ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากปล่อยให้สภาพดินแห้งจนเกินไปอาจทำให้ต้นสละหยุดการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตไม่ได้ตามความต้องการ  การให้น้ำประมาณ 80-100 ลิตร/กอ/วัน โดยการใช้ระบบให้"น้ำหยดจะยิ่งประหยัดขึ้น

การดูแลรักษา 
โดยการตัดแต่งกิ่งใบและกอที่ เหี่ยวแห้งทิ้งเป็นระยะ  กองรวมกันที่โคนต้นสละเพื่อให้เกิดการย่อยสลายและรักษาความชื้นหน้าดินในระดับหนึ่ง

เกสรเพศตัวผู้ใช้ในการผสมพันธุ์สละสุมาลี
-สละเป็นพืชมีความจำเป็นจะต้องช่วยในการ ‘ผสมเกสร” เพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีได้คุณภาพและสมบรูณ์เพิ่มยอดการผลิต
-ดอกเกสรตัวผู้ : นิยมใช้พ่อพันธุ์ เกสรเพศผู้สละหม้อ เกสรเพศผู้ระกำ   เกสรจำพวกสละไร้หนาม ลักษณะเกสรตัวผู้ดอกจะเล็กกว่าตัวเมีย เกสรสีเหลือง เกสรจำพวกนี้จะมีความแข็งแรง อึด ติดลูกดก ดูแลรักษาง่าย
ความแตกต่างของเกสรต้นผู้และต้นเมีย 
- เกสรตัวเมีย ในกลีบดอก ถ้าแกะออกดูจะมีรังไข่ และในรังไช่จะมีตัวออ่อนของสละอยู่
-เกสรตัวผู้ จะมีละอองเกสรเป็นผงสีเหลืองอ่อน 
การพรางแสง
-สละต้องมีร่มเงาพรางแสงประมาณ 50% ของแสงปกติ วิธีการพรางแสงทำได้โดย
-กรณีปลูกในสวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เช่น เงาะ ทุเรียน ขนุน ฯลฯ ควรตัดแต่งกิ่งของไม้ยืนต้นให้ได้แสงที่พอเหมาะ
-กรณีปลูกใหม่ไม่มีไม้ร่มเงาต้องปลูกไม้โตเร็วเป็นไม้ร่มเงาถาวร เช่น กระถินเทพา เพกา  ฯลฯ หรือไม้ยืนต้นอื่นที่เหมาะสมและควรปลูกมากกว่า 1 ชนิด
-ใช้ตาข่ายพลาสติกพรางแสงขึงคลุมให้ได้แสงประมาณ 50%

ระยะเวลาในการเจริญเติบโต
-.หลังจากปลูก ใช้ระยะเวลาในการติดลูกที่ประมาน 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่การดู บำรุง รักษา
- หลังจากผสมเกสรติดลูกต้องเด็ดลูกทิ้งบ้างเพื่อไม่ให้ช่อแน่นจนเกินไป ใน 1 ช่อควรมีประมาน 8-10 ลูก 
-ทำการ ผูกโยง ช่อสละ ที่เริ่มโตเพื่อให้อยู่สูงจากพื้นดิน เพื่อป้องกันการเน่าเสียหาย
 โรค 
โรคใบจุด สาเหตุ ปัจจุบันพบเชื้อราสาเหตุ 2 ชนิด คือ Helminthosporium sp. และ Bipolaris sp.
ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลสีเหลืองอ่อน ขนาดหัวเข็มหมุด ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีวงสีเหลืองล้อมรอบ แผลขยายออกมีลักษณะค่อนข้างกลม มักเกิดกับต้นสละที่ปลูกในสภาพแจ้งไม่มีร่มเงา
 แมลงศัตรูของต้นสละ
ด้วงแรด  ลักษณะและการทำลาย ด้วงแรดเป็นศัตรูพืชตระกูลปาล์มหลายชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ในสะละพบการทำลายของ
ด้วงแรด 2 ชนิด คือ ด้วงแรดเล็ก และ ด้วงแรดใหญ่   กัดกินยอดสะละเป็นอาหาร ทำให้ทางใบหักง่าย ด้วงงวงและเชื้อโรคเข้าทำลายซ้ำทำให้ยอดเน่าและต้นตายได้

การเก็บเกี่ยวผลผลิตสละสุมาลีหวาน และ สละสุมาลีเปรี้ยว
-สละสุมาลีตัดแบบเปรี้ยว นิยมนำมาทำเป็น สละลอยแก้ว   ระยะเวลา  ประมาน 6-7 เดือน
-สละสุมาลีตัดหวาน นิยมรับประทานแบบสดๆ ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว ประมาน 8- 9 เดือน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น